วันอังคารที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ศูนย์เรียนรู้ และแนวความคิดของปราชญ์

ศูนย์เรียนรู้
และแนวความคิดของปราชญ์ใน
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือชาวบ้านหลัก



สานักพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
สานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

ศูนย์เรียนรู้และแนวความคิดของปราชญ์ชาวบ้านในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
1. บทนำ
ปราชญ์ชาวบ้านนับว่ามีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะการน้อม
นำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไปศึกษาและปฏิบัติตน จนบังเกิดผลเป็นที่
ประจักษ์ สามารถสร้างความอยู่ดีมีสุขแก่ตนเองและครอบครัว ภาคราชการจึงเล็งความสำคัญของปราชญ์
ชาวบ้าน จึงได้สนับสนุนส่งเสริมให้เป็นศูนย์เรียนรู้ เพื่อขยายผลความสำเร็จของท่านทั้งหลายไปสู่ชุมชน หรือผู้
ที่สนใจ ต้องการศึกษาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อนำภูมิปัญญาและแนวทางของปราชญ์แต่ละท่านไปเป็นตัวอย่าง
ในการพัฒนาตนเองและชุมชนให้มีความอยู่เย็นเป็นสุขอันเป็นเป้าหมายที่สำคัญของการพัฒนาประเทศ
สศช. ได้เล็งเห็นความสำคัญของปราชญ์ชาวบ้าน ในฐานะที่เป็นกลไกหรือภาคีการพัฒนาที่สำคัญ
ที่สามารถเชื่อมโยงความรู้ไปสู่บุคคล ชุมชน และท้องถิ่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงได้มอบหมายให้สำนัก
พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมทั้ง 4 ภาค ดำเนินรวบรวมข้อมูลปราชญ์ชาวบ้านและศูนย์เรียนรู้ เพื่อใช้ประโยชน์
ในการศึกษา ต่อยอดองค์ความรู้ สร้างเครือข่ายภาคีการพัฒนา และขยายผลเชื่อมโยงในการขับเคลื่อนการ
พัฒนาในแต่ละระดับต่อไป
2. วัตถุประสงค์
2.1 เพื่อรวบรวมรายชื่อและที่อยู่ของปราชญ์ชาวบ้านในฐานะที่เป็นศูนย์เรียนรู้ในภาค
ตะวันออกเฉียงเหนือ พร้อมทั้งจัดระบบข้อมูลให้สะดวกต่อการใช้ประโยชน์
2.2 เพื่อรวบรวมแนวคิด องค์ความรู้ ภูมิปัญญาของปราชญ์หลักในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
จำนวน 12 ท่าน1 เพื่อใช้ประโยชน์ในการศึกษาเรียนรู้ และนำไปเผยแพร่แก่ผู้สนใจต่อไป
3. วิธีการดำเนินงาน
ศึกษาแหล่งที่มาของปราชญ์ชาวบ้าน และดำเนินการรวบรวมข้อมูลจากหน่วยงานภาคราชการที่
เกี่ยวข้อง ซึ่งปัจจุบันมี สนง.ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกรมการพัฒนาชุมชน ดำเนินการรวบรวม
และประสานรวบรวมจากเครือข่ายศูนย์เรียนรู้ปราชญ์ชาวบ้านภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งมีการหมุนเวียนจัด
ประชุมหารือแนวทางการขับเคลื่อนการพัฒนาร่วมกันเป็นประจำทุกเดือน
4. ผลที่ได้รับ
สพอ. มีฐานข้อมูลปราชญ์ชาวบ้าน ที่พร้อมใช้งาน โดยมีรายชื่อ ที่อยู่ของเครือข่ายศูนย์เรียนรู้
ปราชญ์ชาวบ้าน 79 ท่าน จำแนกรายจังหวัด รวมทั้งมีเอกสารรวบรวมแนวคิดและภูมิปัญญาของปราชญ์หลัก
12 ท่าน เพื่อใช้ในการค้นคว้า ศึกษา และประโยชน์อื่นๆ ของสำนักงานต่อไป
5. รายชื่อศูนย์เรียนรู้ปราชญ์ชาวบ้าน
ตารางที่ 1 สรุปรวมยอดปราชญ์ชาวบ้านภาคตะวันออกเฉียงเหนือรายจังหวัด (หน้า 1/1 – 1/3)
ตารางที่ 2 รายละเอียด ชื่อ ที่อยู่ ศูนย์เรียนรู้เครือข่ายปราชญ์ชาวบ้าน (หน้า 2/1 – 2/4)
6. แนวความคิดและภูมิปัญญาปราชญ์ชาวบ้าน 12 ท่าน__

                  ร้อยเอ็ด

นายถนอม เหล็กศรี
นายทอง สิงห์สุขุม
นายวิชัย ทวินันท์
นายบุญมี ทอนมาตย์
นายวีระยุทธ สุวัฒน์
นายแสวง มะโนลัย
นายอุทัย สุทธิประภา




 นายแสวง มะโนลัย ศูนย์เครือข่ายปราชญ์ชาวบ้าน 

หมู่ที่ 12 บ้านโพนฮาด ต.ดงครั่งน้อย อ.เกษตรวิสัย จ.ร้อยเอ็ด

















วันเสาร์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2552

บ้านโพนฮาด


กิจกรรมพัฒนาชุมชน  
บ้านโพนฮาด วันที่ 19 กรกฏาคม 2555


























ประชาคมงดเหล้า ภาคอีสานตอนล่าง
บ้านโพนฮาด
อำเภอเกษตรวิสัย โดย สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเกษตรวิสัย โรงพยาบาลเกษตรวิสัย จัดงาน “มหกรรมสุขภาพ หมู่บ้านต้นแบบ ลดโรค เพื่อรณรงค์กินผักวันละ 5 ขีดทุกวัน ขยันออกกำลังกาย บ้านสะอาดสดใส ห่างไกลโรค” วันที่ 10 สิงหาคม 2552 ณ บริเวณหนองน้ำหมู่บ้านโพนฮาด หมู่ที่ 12 ต.ดงครั่งน้อย อ.เกษตรวิสัย จ.ร้อยเอ็ด
บรรยาการภายในงานช่วงเช้าก่อนพิธีจะเริ่มพี่น้องกลุ่ม อสม.ทั่วทั้งอำเภอเกษตรวิสัย หลั่งไหลเข้าร่วมงาน มีการแสดงบนเวทีเรียกน้ำย่อย ของคณะโปงลางเสียงพิณ จากโรงเรียนทุ่งกุลาประชารัฐ รำต้อนรับ โดย อสม.หอมจันทร์ อสม.ดีเด่นระดับจังหวัด สาขา สคบ.เวลา 10.00 น. เป็นพิธีเปิดงาน โดย นายภาสกร ไชยเศรษฐ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด(ชุดสีกากี) เดินทางมาถึงพร้อมคณะ ขึ้นรถไถนาเดินตามปลอดสารพิษ แห่รอบหนองน้ำ โดยมีขบวนรถจักรยานกลุ่ม อสม. นำหน้า สร้างกระแสออกกำลังกายนายสมจิตร ศรีภักดี ผอ.ร.ร.ทุ่งกุลาประชารัฐ กล่าวต้อนรับแทนนายปณิธาน สุนารัตต์(นอภ.เกษตรวิสัย) ซึ่งติดภาระกิจวันกำนันผู้ใหญ่บ้านที่อำเภอเกษตรวิสัย นายแพทย์สำเร็จ โพดาพล ผอ.รพ.เกษตรวิสัยกล่าวรายงาน วัตถุประสงค์การจัดงาน จากนั้น นายภาสกร ไชยเศรษฐ มอบรางวัลให้กับ อสม.ที่มีสุขภาพดีกว่าสิบรายการ และกล่าวเปิดงานให้ข้อคิดเรื่องดีๆ ต่อสุขภาพ โดยเฉพาะการออกกำลังกาย กินผักวันละ 5 ขีด ลดสารพิษเช่นเครื่องดื่มอัลกอฮอล์เป็นต้น (หน้าเวที มีป้าย รณรงค์งดเหล้า ลดเหล้าเข้าพรรษา) เต้นท์ศูนย์ ICT วัดสระเกษ มีป้ายรณงค์ในนั้น และซุ้มนิทรรศการของเครือข่ายรณรงค์งดเหล้าจังหวัดร้อยเอ็ด เขตอำเภอเกษตรวิสัย ซึ่งได้รับเชิญจาก นายนราวิชญ์ ไชยบัวแดง หัวหน้าสถานีอนามัยตำบลดงครั่งน้อยให้เข้าร่วมงานจัดนิทรรศการเวลา 11.30 น. ประธานและคณะเดินเยี่ยมชมนิทรรศการ เยี่ยมชมบ้านตัวอย่าง เช่น สุขบัญญัติ 10 ประการ หมู่บ้านต้นแบบ บุคคลต้นแบบ ลดโรค รณรงค์กินผักวันละ 5 ขีด กินผักผลไม้ครึ่งหนึ่ง อาหารอย่างอื่นครึ่งหนึ่ง การประกวดเมนูอาหารที่ประกอบด้วยผักและปลา การประกวดกระเช้าของฝากจากผักและผลไม้ นิทรรศการสุขภาพดีบนวิถีความพอเีพียง นิทรรศการเกษตรอินทรีย์ปลอดสารพิษ พืชผักข้างบ้าน อาหารที่จำเป้นส่วนซุ้มนิทรรศการของประชาคมงดเหล้าจังหวัดร้อยเอ็ด อำเภอเกษตรวิสัย โดยศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชนวัดสระเกษ ได้นำสื่องดเหล้า สื่อรณรงค์ลดละเลิกบุหรี่ ซึ่งเป็นงานฝากอีกงานหนึ่ง ซึ่งกลุ่มยุวชนได้เชิญเชิญประชาชนเข้าเยี่ยมชม รับสื่อ ลงนามงดเหล้าเข้าพรรษา และเดินแจกสื่อภายในงาน และคณะท่านประธานในพิธีได้อยู่ซุ้มนี้ประมาณ 25 นาทีกลุ่มยุวชนไอทีกลัดเข็มกลัดสุขเลิกเหล้าให้กับ นายภาสกร ไชยเศรษฐ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด นายสำเร็จ โพดาผล ผอ.รพ.เกษตรวิสัย หัวหน้าสาธารณสุขอำเภอเกษตรวิสัย เป็นต้น จากนั้น ได้รายงานถึงการทำงานภาคประชาคมในการรณรงค์งดเหล้าในงานต่างๆ เช่น ของขวัญปลอดภัยกระเช้าปีใหม่ปลอดเหล้า บุญผะเหวดปลอดเหล้า งดเหล้าเข้าพรรษา และวันต่อต้านยาเสพติดโรค พร้อมกันนี้ได้สัมภาษณ์พูดคุยกับนายภาสกร ถึงจุดประสงค์การจัดงาน พร้อมทั้งความคาดหวังที่จะเกิดขึ้นในอนาคต จากนั้นเจ้าอาวาสวัดสระเกษได้ไถ่ถามความคืบหน้าในการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการระดับอำเภอ ซึ่งได้เสนอเรื่องไปกว่าหกเดือน ยังไม่คืบหน้า นายภาสกร รับปากจะดูให้โดยสั่งการกับสาธารณสุขอำเภอเกษตรวิสัย และคณะติดตามจากจังหวัด มอบสื่องดเหล้าและรณรงค์ต้านบุหรี่ให้ทั้ง 3 ท่าน พร้อมทั้งถ่ายรูปนายสำเร็จ โพดาผล ผอ.รพ.เกษตรวิสัย กล่าวทิ้งท้ายกับเจ้าอาวาสวัดสระเกษว่า…เห็นพระอาจารย์ทำงานแบบนี้ ไม่รู้เอาเรี่ยวแรง เอางบประมาณเอาสื่อมาจากไหน โรงพยาบาลยังทำไม่ได้เลย เจ้าอาวาสกล่าวว่าได้รับสื่อ งบประมาณส่วนหนึ่งจาก สคล. และ สสส. พร้อมทั้งมีเครือข่ายกัลยาณมิตรที่ดีทั้งจังหวัดช่วยกัน และ ผอ.รพ.เกษตรวิสัยเสนอต่อว่า จะเสนอชื่อพระอาจารย์เข้ารับรางวัลจาก สสส.
ทีมประชาคมงดเหล้า จ.ร้อยเอ็ด

งานกีฬาประจำปีบ้านโพนฮาด












ประวัติบ้านโพนฮาด

คำว่า "บ้านโพนฮาด" เป็นชื่อตั้งขึ้นตามตำนาน เล่าว่าเมื่อหลายร้อยปีมีพระยาฮาด
และพระยาทอน มีชื่อศักดิ์ เป็นพี่น้องกันพร้อมบริวาร คือพระนางจะแอ่น
พระนางแสนสี ซึ่งเป็นพ่อค้าขายครั่งซึ่งได้เกินทางมาขายครั่ง ท่ามกลาง
ทุ่งอันกว้างใหญ่ไพศาลมีความแห้งแล้งและกันดาล ไม่มีนำดื่มนำใช้ในช่วงน่าแล้ง
ทำให้คณะบุคคลดังกล่าวเกิดความหิวโหยอาหารและน้ำอันมีผลทำให้ พระยาอาด
เสียชีวิตลงที่บ้านโพนฮาดซึ่งเป็นที่ตั้งของบ้านโพนฮาดในปัจจุบัน และพระยาทอน
ก็ได้เสียชีวิตลงที่บ้านโพนทอน ส่วนสตรีอีกสองคน คือ พระนางแอ่นและ
พระนางแสนสีก็ได้เสียชีวิตลงที่บ้านโพนฮาด ซึ่งเป็นที่ตั้งของบ้านโพนฮาด
ปัจจุบันปริการ

สาธารณะของหมู่บ้าน
1. ศาลาประชาคม 1 แห่ง 
2. หอกระจายข่าว 2 แห่ง
3. ตู้โทรศัพท์สาธารณะ 2 แห่ง
4. ที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน 1 แห่ง
5. โรงเรียนประถม 1 แห่ง
6. วัด 1 แห่ง
7. ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีทางการเกษตร 1 แห่ง
8. ลานกีฬา/สนามกีฬา 1 แห่ง